ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า Ram PC Laptop และRam Server นั้นมีหน้าที่การทำงานในคอมพิวเตอร์เหมือนกันคือเป็นหน่วยความจำชั่วคราว
แต่ต่างกันตรงลักษณะการทำงานที่หนักกว่าและยาวนานกว่า เช่น ในคอมส่วนตัวเราใส่แรม 8GB จำนวน 2 แผง รวมเป็น 16GB
และใช้งานวันละ 3-8 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเทียบกับ Server อาจจะต้องใส่แรมถึง 10 แผงๆละ 32GB รวมเป็น 320GB หรือ เช่น DELL R740 ใส่ได้สูงสุดถึง 3,072GB(24x128GB) เพื่อรองรับงานขนาดใหญ่และเปิดทำงานตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน
โดยเครื่องนี้อาจจะเป็น website มีเข้าผู้ใช้งานเป็น แสนๆคน ก็ควรจะต้องมีความสำคัญกว่า PC ส่วนตัว
ดั่งนั้นทางผู้ผลิตจึงต้องออกแบบ memory technology ที่ต่างกันเพื่อรองรับงานที่ต้องการความเสถียรสูง ECC ที่ส่วนมากจะอยู่ใน Server และ non-ECC ซึ่งจะอยู่ในคอมทั่วไปเพราะจะราคาถูกกว่า
ECC ย่อมากจาก Error-correcting code แปลว่าโค๊ดการทำงานแบบป้องกันความผิดพลาด เช่นถ้าใช้งานไปเรื่อยๆ แล้วชิปหรือการประมวลผล ข้อมูลของแรมแผงนั้นๆ มีปัญหาให้ค่าที่ผิดพลาด ค้างหรือเสีย ก็จะทำให้คอมพิวเตอร์ได้ค่าการคำนวนที่ผิดหรือโปรแกรมค้างหรือจอฟ้าได้
ดั่งนั้นถ้าเราใช้ ECC RAM ถึงแม้แรมจะเสียคอมเราก็ยังสามารถทำงานต่อได้โดยที่ไม่ได้ค่าที่ผิดพลาดออกมาเพราะตัวแรมมีการเช็คความถูกต้องก่อนปล่อยค่านั้นออกมาให้เราใช้งาน
เฉพาะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นความสามารถที่เน้นเรื่องความเสถียร ความถูกต้องของข้อมูลและเหมาะสำหรับเครื่องที่ใส่แรมเยอะๆ
เพราะถ้าคอม PC เราใส่ RAM แค่ 2 แผง โอกาส RAM จะเสียก็น้อยมากๆและถึงแม้เสียเราก็แค่ถอดออกหรือหามาเปลี่ยนไม่ได้เสียหายอะไร แต่ในทางกลับกันถ้า Server นั้นใส่ RAM 20 แผงแล้วเป็น web ขายสินค้า Online ที่มีลูกค้าเข้ามา 10,000 คนต่อวัน
การที่ RAM มีปัญหาแล้วทำให้ web เก็บค่าการชำระเงินผิด หรือ web ล่มความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมีมูลค่าเป็น แสนๆบาท ก็คงไม่คุ้มที่เราจะประหยัดเงินซื้อ Non-ECC มาใช้ในงานที่มีความสำคัญ
**หมายเหตุ – แต่ถ้าเป็น Server ระดับสูงทุกตัวก็จะบังคับให้ใส่ได้เฉพาะ ECC Memory เท่านั้น
RAM UDIMM RDIMM และ LRDIMM ต่างกันยังไง อ่านบทความกดที่นี่