ออดหน้าบ้าน ในชีวิตประจำวันนั้น
คงเป็นของที่คุ้นเคยสำหรับทุกคนมาหลายยุคสมัยแล้ว เพราะมีติดตั้งอยู่แทบทุกบ้านโดยเฉพาะบ้านในตัวเมือง รวมถึงสามารถพบเห็นได้ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ ซึ่งเป็นได้ทั้งออดไร้สายบอกเวลาเลิกเรียน เลิกงาน ออดไร้สายเตือนภัย รวมถึงวัยเด็กของบางคนอาจจะเคยกดออดหน้าบ้านของคนอื่นเล่นแล้ววิ่งหนีมาแล้วเช่นกัน
แต่เมื่อเราต้องมีออดเป็นของตัวเอง การเลือกออดให้เหมาะกับการใช้งานก็มีอีกหลายเรื่องที่เราต้องต้องคำนึงถึงมากกว่าแค่ความคุ้นเคยในวัยเด็ก
เริ่มต้นจากการคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยว่าเราจุดประสงค์ของการใช้ออดไร้สายนี้คืออะไร เช่น
– ติดตั้งหน้าบ้านหรือสำนักงาน เพื่อให้คนที่เข้ามาติดต่อสามารถกดเรียกได้เวลาที่เราอยู่ในบ้าน
– ใช้ภายในสำนักงานหรือหน้าห้อง ไว้ให้คนที่เข้ามาติดต่อกดเรียกเมื่อต้องการติดต่อ
– ใช้เป็นสัญญาณเตือนบอกเวลาต่างๆ เช่น เวลาพัก เวลาเลิกงาน หรือเมื่อเกิดเหตุต่างๆ
– ใช้สำหรับวางบนเตียงหรือติดตั้งในห้องผู้ป่วย คนชรา เอาไว้ใช้กดเรียกเมื่อต้องการความช่วยเหลือ
– ปรับใช้งานในแบบอื่นได้ตามความเหมาะสม
และออดก็ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1 ออดแบบมีสาย
ออดไร้สายแบบมีสายเป็นออดแบบที่ใช้กันมานานหลายยุคสมัย โดยจะมีตัวปุ่มกดติดตั้งไว้ด้านหน้าบ้าน และมีสายไฟต่อเข้าไปภายในตัวบ้านหรือห้อง เพื่อไปยังจุดที่ติดตั้งไว้ให้ส่งเสียงสัญญาณออกมา
ข้อดีของออดแบบมีสาย
– ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือถ่าน
– ไม่จำกัดระยะทาง ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนก็สามารถเดินสายไฟไปถึงได้
– ชำรุดที่ส่วนไหนก็ซ่อมหรือซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนแค่ส่วนนั้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
– มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
– สามารถใช้งานได้แม้ไฟฟ้าจะดับ
– เหมาะสำหรับการใช้งานในระยะยาวเพราะไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่
ข้อเสียของออดแบบมีสาย
– สามารถเกิดไฟฟ้าช๊อตหรือไฟฟ้ารั่วได้
– ถ้ามีการชำรุดอาจจะหาจุดที่มีปัญหาได้ยาก โดยเฉพาะถ้าจุดที่ชำรุดคือสายไฟจะยิ่งหาตำแหน่งที่มีปัญหาได้ยากมากยิ่งขึ้น
– ถ้าสายไฟขาดหรือเสื่อมจะแก้ไขยากเพราะบางครั้งสายไฟฝังลงไปในผนัง
– ถ้าติดตั้งไม่ดีมักจะมีปัญหากับการโดนน้ำฝนหรือมีแมลงและสัตว์เล็กๆ เข้าไปภายในกล่องของปุ่มกด ทำให้เกิดการช๊อตหรือชำรุดได้ง่าย
สามารถดูวิธี การซ่อมออดหน้าบ้านเสีย ได้ที่นี้
2 ออดไร้สาย
ออดแบบไร้สายเป็นออดแบบที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กันภายในยุคหลังๆ นี้ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือตัวรับสัญญาณที่จะอยู่ภายในตัวบ้านหรือสำนักงาน และตัวปุ่มกดที่จะติดตั้งไว้ภายนอก มีทั้งแบบที่ใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้า และแบบไม่ใช้แบตเตอรี่ที่ใช้การเหนี่ยวนำไฟฟ้าเพื่อให้กำเนิดพลังงาน
ข้อดีของออดแบบไร้สาย
– ติดตั้งง่าย ใช้เพียงเทปกาวสองหน้าหรือสกรูไว้ติดตั้งตัวปุ่มกดภายนอก และใช้เต้าเสียบไฟเพียง 1 จุดสำหรับตัวรับสัญญาณภายในบ้านหรือสำนักงาน โดยสามารถชมลิ้งค์วิดีโอ ข้อดีของออดไร้สายได้ที่นี้
– ไม่ต้องเดินสายไฟให้ยุ่งยาก
– มีเสียงให้เลือกได้หลายแบบ
– บางรุ่นสามารถปรับระดับความดังของเสียงได้
– สามารถต่อสัญญาณของปุ่มกดเข้ากับตัวรับสัญญาณได้หลายตัว
– แต่ละตัวรับสัญญาณจะมีรหัสเฉพาะตัว จึงไม่มีการเชื่อมสัญญาณผิดไปต่อเข้ากับออดไร้สายของเพื่อนบ้าน
– กันแดดและกันฝนได้ดี เพราะเป็นออดไร้สายที่เพิ่งพัฒนามาใช้กันในช่วงยุคหลังๆ จึงออกแบบตัวกล่องของปุ่มกดมาให้แน่นหนาเพียงพอที่จะกันแดด กันฝน และกันสัตว์รบกวนได้
– ถ้ามีการชำรุดก็สามารถซื้อมาเปลี่ยนใหม่ได้เลยทันที เพราะติดตั้งได้ง่าย
ข้อเสียของออดแบบไร้สาย
– ระยะสัญญาณมีจำกัด บางรุ่นอาจจะใช้ได้ไม่กี่สิบเมตร แต่บางรุ่นก็อาจใช้ได้ไกลเป็นร้อยเมตร ถ้าใช้กับบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กทั่วไปก็ถือว่าระยะสัญญาณไกลเพียงพอ
– ถ้ามีสิ่งกีดขวาง เช่น กำแพง หรือบ้านมีหลายชั้น จะบังสัญญาณ ทำให้ระยะสัญญาณลดลง
– ถ้าเป็นรุ่นที่ต้องใช้แบตเตอรี่อาจจะมีความยุ่งยากเมื่อแบตเตอรี่หมด
– ถ้าไฟฟ้าดับ ตัวรับสัญญาณจะไม่สามารถใช้งานได้ ออดไร้สายก็จะไม่ดังตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมอื่นๆ อีกมากเพื่อปรับใช้งานได้ตามความเหมาะสม เช่น
– แบบมีลำโพง
– แบบมีกล้อง
– ที่ต่อเข้ากับล็อคของประตู
– ตัวออดพร้อมสัญญาณกันขโมย
– ตัวรับสัญญาณแบบแสดงผลเป็นไฟ สำหรับใช้ในสถานที่ๆ มีเสียงดัง หรือเพื่อผู้ที่มีปัญหาด้านการฟัง
– ออดไร้สายและตัวรับสัญญาณแบบอื่นๆ ตามการใช้งาน
สรุป
เพราะออดไร้สายแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกออดไร้สายให้เหมาะกับการใช้งานและสถานที่จึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราต้องการใช้งานระยะไกล มีสิ่งกีดขวาง มีหลายชั้น และต้องการใช้งานแบบถาวรระยะยาว ก็อาจจะเลือกใช้เป็นออดไร้สายแบบมีสาย แต่ถ้าเน้นความสะดวกในการติดตั้งใช้งาน ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่ชุมชน บ้านอยู่ติดๆ กัน ก็อาจจะเลือกออดไร้สายแบบไร้สายเพราะสามารถเลือกเสียงได้เพื่อไม่ให้สับสนกับเสียงสัญญาณของบ้านอื่น หรือปรับระดับความดังของเสียงเพื่อไม่ให้มีเสียงดังมากจนรบกวนเพื่อนบ้าน เป็นต้น