สารบัญ
-
ระบบเรียกพยาบาล (nurse call system) คือ
-
ระบบเรียกพยาบาลควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
-
ประเภทของระบบเรียกพยาบาล
-
ส่วนประกอบของระบบเรียกพยาบาล
-
ข้อแนะนำในการเลือกติดตั้งระบบเรียกพยาบาล
ระบบเรียกพยาบาล (Nurse Call System) คือ
ระบบการสื่อสารกันระหว่าง คนไข้หรือผู้ป่วย กับ พยาบาลหรือผู้ดูแล สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีความต้องการขอความช่วยเหลือ ในทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ส่งผลต่อความเป็นความตายของชีวิตผู้ป่วย เช่นกรณี ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute Myocardial infarction) , ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ แตก ตัน (stroke), ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เป็นต้น
ระบบนี้จะทำให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที และทำให้เจ้าหน้าที่พยาบาลรับทราบได้โดยทันทีว่าผู้ป่วยห้องใด/เตียงใดเป็นผู้กดเรียก
ระบบเรียกพยาบาลที่ดี จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
1. มีความถูกต้อง และแม่นยำสูง
2. สามารถใช้งานง่าย เหมาะสมกับทุกช่วงวัยของผู้ใช้บริการ
3. มีไฟขึ้น แสดงที่หน้าห้องผู้ป่วยชัดเจน
4. สามารถสนทนา/สื่อสารกันได้ จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการช่วยเหลือ
5. มีระบบการเข้าถึง และกล้องวงจรปิด อาจรวมไปถึงการตรวจสอบประตู ช่วยให้เจ้าหน้าที่พยาบาลรับทราบ และสามารถเช็คสถานการณ์ของผู้ป่วยได้ทุกช่วงเวลา
6. มีการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่อยู่กับเจ้าหน้าที่พยาบาลได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อผู้ป่วยได้
7. มีระบบสำรองไฟฟ้า
8. มีการตรวจเช็คอุปกรณ์เป็นประจำ มีระบบในการสอบเทียบ เพื่อสร้างมาตรฐานในการรับรองคุณภาพ และมีใบ certificate รับรองเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับอุปกรณ์
9. สามารถติดตั้ง และดูแลรักษาได้ง่าย
10. มีการบันทึกการโทรและบันทึกข้อมูล มีบริการการส่งข้อมูลผ่านระบบเพจ ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบระยะเวลาที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้สะดวก
ระบบเรียกพยาบาล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
1. แบ่งตามลักษณะทางเทคนิค สามารถแยกเป็น 2 ระบบ ดังนี้
1.1 ระบบอนาล็อก คือ ใช้การแปรผันของค่าสัญญาณเช่นแรงดันและกระแสไฟฟ้าในช่วงเวลาหนึ่งในการทำงาน
1.2 ระบบดิจิตอล ซึ่งเป็นการรวมอุปกรณ์ที่ออกแบบสำหรับการทำงานกับข้อมูลเชิงตรรกะ (Logic) ปริมาณจะแทนด้วยตัวเลข (Digit)
2. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน สามารถแยกออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
- ระบบเรียกพยาบาลที่ใช้สำหรับการสื่อสารทางเดียว หรือ Half Duplex ซึ่งการสื่อสารใน
ลักษณะนี้ เป็นระบบการสื่อสารด้วยสัญญาณไฟ และเสียง จะไม่สามารถมีการโต้ตอบกันได้ เป็นลักษณะไร้สาย สามารถเคลื่อนย้ายได้ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง เหมาะสำหรับสถานที่ที่ที่มีจำนวนจุดเรียกจำนวนน้อย เช่น ในบ้านพักผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ บ้าน สำนักงาน หรือห้องพักแพทย์ เป็นต้น
เมื่อผู้ป่วยมีการเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาล จะมีเสียงดัง ปิ๊บ พร้อมไฟกระพริบแสดงตำแหน่งที่เรียกมา (Call Alarm) เป็นระบบเรียกพยาบาลขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับห้องเตียงรวม ราคาประหยัด นิยมใช้กันมาก
- ระบบเรียกพยาบาลที่สามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่พยาบาล หรือ Intercom ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีก 2 แบบย่อย คือ
- แบบ Simplex สามารถโต้ตอบกันได้ แต่ต้องผลัดกันสนทนาคล้ายกับการใช้วิทยุสื่อสาร
- แบบ Full Duplex สามารถโต้ตอบกันได้ คล้ายกับการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งส่วนมากจะใช้สำหรับห้องผู้ป่วยพิเศษ/วีไอพี
ประเภทของระบบเรียกพยาบาล มี 2 ประเภท คือ
- ระบบเรียกพยาบาลแบบสายทั่วไป ดูวิดิโอตัวอย่าง
เป็นลักษณะการเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาลแบบมาตรฐานทั่วไป โดยผู้ป่วยสามารถเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาลผ่านปุ่มกดฉุกเฉินแบบสาย จากนั้นเจ้าหน้าที่พยาบาลจะได้รับการแจ้งเตือนด้วยแสง หรือเสียงพื้นที่บริเวณที่เจ้าหน้าที่พยาบาลมองเห็นและได้ยิน หรือสเตชั่นของพยาบาล ซึ่งในการติดตั้งระบบนี้ค่อนข้างที่จะง่าย และรวดเร็ว ยี่ห้อต่างๆเช่น Commax, Prezon & Meeyi
- ระบบเรียกพยาบาลแบบไร้สาย ดูวิดีโอตัวอย่าง
เป็นลักษณะเช่นเดียวกับระบบเดินสาย ซึ่งระบบ wireless nurse call หรือไร้สายเหล่านี้มีความสามารถในการแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่พยาบาลด้วยแสง เสียงหรือสามารถแสดงข้อความในเครื่อง เนื่องจากระบบนี้มีการเดินสายระหว่างการติดตั้งที่น้อย ระบบนี้จึงมีข้อดี คือ ประหยัดงบประมาณในการติดตั้ง แต่อย่างไรก็ตามไฟโดมไลท์ภายในห้องโถงก็ยังคงต้องมีการเดินสายสำหรับจ่ายไฟ จึงทำให้มีข้อเสียหลักๆ ตามมา คือ
- ต้องมีการตรวจสอบ และเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่สเตชั่นของผู้ป่วยตลอดอายุการใช้งานของระบบ
- มีความเสี่ยงของสัญญาณรบกวนกับระบบอื่น ๆ ภายในอาคาร
- ตัวเลือกมีค่อนข้างจำกัด
ส่วนประกอบของระบบเรียกพยาบาล ได้แก่
- ชุดควบคุม (Master Station) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่พยาบาล สามารถติดต่อพูดคุยกับชุดเรียกพยาบาล หรือ Sub Stationได้
- เรียกเจ้าหน้าที่พยาบาล (Sub Station) เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้เรียกเจ้าหน้าที่พยาบาลในกรณีฉุกเฉิน
ติดตั้งไว้ที่หัวเตียงของผู้ป่วย โดยมีสวิทซ์กดเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาล และมีสัญญาณแสดง มีทั้งรุ่นที่สามารถพูดคุยกับชุดควบคุม และไม่สามารถพูดคุยได้ มีสวิทซ์ยกเลิกการทำงาน และมีจุดสำหรับต่อสายกดด้วย
- สายกดเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาล (Call Cord) เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้กระชับกับมือ สามารถกดปุ่มได้สะดวก มีลักษณะเป็นสายวางอยู่ข้างตัวผู้ป่วย ยืดหยุ่น ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป ควรมีหัวต่อเป็นเกลียว :ซึ่งจะลำบากต่อการดึงให้หลุดได้ ใช้ร่วมกับชุดหัวเตียงกดเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาล มีสายเสียบ และมีสวิทซ์กดเรียกที่ปลายสายมีความยาวสายที่เหมาะสม
- สวิทซ์ดึงเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาลในห้องน้ำ (Emergency Switch) คือ สวิทซ์ติดตั้งในห้องสุขาเป็นชนิดกดหรือดึงเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาล ซึ่งจะประกอบไปด้วย สวิทซ์กดเรียก พร้อมเชือกสำหรับดึง และเมื่อมีการเรียกจะมี LED แสดงผลการทำงาน
- โคมไฟหน้าห้อง (Corridor Light) คือ ไฟฉุกเฉินสำหรับติดตั้งหน้าห้องพักคนไข้ เป็นหลอดไฟ หรืออาจเป็น LED สัญญาณไฟจะติดเมื่อมีการกดสวิทซ์ที่หัวเตียงของผู้ป่วย หรือดึงสวิทซ์ในห้องน้ำ สัญญาณไฟจะดับเมื่อมีการกดสวิทซ์ที่ชุดควบคุม (Master Station) หรือที่สวิทซ์ยกเลิกของชุดเรียกเจ้าหน้าที่พยาบาล (Sub Station)
ข้อเสนอแนะในการเลือกระบบเรียกพยาบาลเพื่อนำไปใช้งาน
- ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับตามเหมาะสมกับสถานที่ เนื่องจากระบบที่มีความสามารถสูง ค่าใช้จ่ายมักจะสูงตามไปด้วย ซึ่งบางครั้งอาจเกินความจำเป็น ทำให้สิ้นเปลืองทั้งทรัพย์สิน และทรัพยากรได้
- ควรเลือกตามลักษณะของระบบเรียกพยาบาลที่ดี ที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น
- ควรมีการติตตั้งโดยช่างที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญ อุปกรณ์/อะไหล่ที่มีใช้ในประเทศได้แก่ Prezon,COMMAX, AUSTCO, AIPHONE, FORTH เป็นต้น ซึ่งในระบบดิจตอลมักจะมีความซับซ้อนมากกว่า ระบบอนาล็อกทั้งในเรื่องของการเดินสาย และการติดตั้งโปรแกรม
- ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี ให้ร่วมกับยุกต์สมัยเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็ว และทันท่วงทีให้ได้มากที่สุด
ระบบ NURSE CALL ของ Prezon
เป็นระบบเรียกพยาบาล แบบไร้สาย และมีสาย ติดตั้งใช้งานได้ทันที รองรับทั้งระบบเล็ก และใหญ่
เหมาะสำหรับโรงพยาบาล บ้านพักผู้สูงอายุ
เป็นระบบ nurse call ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องเดินสาย
ระบบเรียกไร้สาย ของเราออกแบบให้สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเดินสายหรือติดตั้งใดๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย เรียกพยาบาล หรือ ผู้ดูแล ได้ง่ายๆโดยมีเสียบปลั๊กไฟให้หน้าจอแสดงผล รอรับสัญญาณจากตัวกด จอแสดงผล รองรับปุ่มกด 400 ตัว ในรัศมี 20-30 เมตร ภายในอาคาร และ 100-200 เมตร สำหรับภายนอก เหมาะสำหรับ โรงพยาบาล บ้านพักคนชรา ห้องพัก หรือ ผู้ใช้งานที่ต้องการกดเพื่อเรียก
คุณสมบัติครบถ้วนของระบบ Nurse Call ไร้สาย
ดูแลง่าย พร้อมใช้งาน ได้ทันที โดยไม่ต้องเจาะ/กรีด ผนังใหม่ พร้อมฟังค์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน ตั้งแต่ ปุ่มกดในห้องน้ำ, ไฟแจ้งสถานะ ที่เค้าเตอร์ พร้อม Software ดูแล เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ป่วยสามารถเรียกกดได้ตลอดเวลา
ระบบเรียกพยาบาลไร้สายแบบ IP Network
- ไม่ต้องเดินสาย ใช้งานได้ทันที
- ตรวจสอบการกดเรียกย้อนหลังได้
- แจ้งเตือนไปมาระหว่าง ตึกได้ ผ่านระบบ IP
- รองรับการแจ้งเตือนได้มากกว่า 1 Station
- ยืดหยุ่นในการใช้งานมากยิ่งขึ้น ขยายระบบได้ไม่มีจำกัด
- เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
- ดูสถานะการกดเรียกแบบ 24 ชั่วโมง
ประยุกต์รวมเข้าระหว่าง แบบ Analog และ Digital
ระบบ NURSE CALL แบบ มีสาย เสถียรและความสามารถครบถ้วน
ระบบเรียบพยาบาล ฉุกเฉิน แบบมีสาย ออกแบบให้มีความสามารถครบถ้วนและความเสถียรของระบบ สำหรับห้องพักผู้ป่วย ในโรงพยาบาล บ้านพักคนชรา ใช้กดเพื่อคุย โดยมีเลขห้องแสดงพร้อม ไฟสัญญาณที่หน้าห้องพัก เพื่อให้พยาบาลพูดคุยและไปหาที่ห้องได้อย่างรวดเร็ว
ระบบเรียกพยาบาล แบบมีสาย จะประกอบไปด้วย
1) สายสัญญาณแบบ 4 แกน เชื่อมอุปกรณ์ทั้งระบบเข้าหากัน
2) เครื่องหลัก เป็นศูนย์กลางของระบบเพื่อคุยและบอกสถานะของแต่ละห้อง
3) เครื่องลูก เป็นปุ่มกดและแผงสำหรับพูดคุยกับเครื่องหลัก โดยจะติดไว้ข้างเตียงของผู้ป่วย
4) เครื่องลูก แบบปุ่มกด เท่านั้น กันน้ำได้ สำหรับติดในห้องน้ำ หรือจุดที่ไม่ต้องการพูดคุย
5) ไฟแสดงสถานะ จะติดไว้หน้าห้องผู้ป่วย เพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นในการไปยังห้องผู้ช่วย
6) ระบบจ่ายและสำรองไฟฟ้า เพื่อสำรองไฟให้กับระบบเรียกพยาบาล ให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานในกรณีไฟฟ้าดับ
7) โปรแกรมจัดเก็บประวัติการใช้ระบบ
อ้างอิงข้อมูลจาก
อรรถรัตน์ นาวิกาวตาร . (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเรียกพยาบาล. สืบค้น 8 สิงหาคม
2563, จาก http://www.secu.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539682197
Northerwood. (2563). Nurse call system. สืบค้น 8 สิงหาคม
2563, จาก http://www.technicalalarmsystems.co.uk/nurse-call-systems/
Blog writer. (2563). Nurse call system. สืบค้น 8 สิงหาคม
2563, จาก http://www.technicalalarmsystems.co.uk/nurse-call-systems/